Thursday, July 21, 2016

ฤดูร้อน: ฤดูแห่งการประชุมวิชาการ (26-30 June 2016)

Plant Biology Europe. EPSO/FESPB 2016 Congress, Prague, Czech Republic/ June 26-30, 2016

มาประชุมที่ปรากครั้งนี้มีสิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้ก็คือประเทศเช็กนี่เค้ามีนักวิจัยดีๆ เก่งๆ กันหลายคนทีเดียวครับ ที่ประเทศเช็กเค้ามีมหาวิทยาลัยดีๆ ที่มีชื่อเสียงหลายแห่งแต่ที่ดูโดยเด่นที่สุดก็น่าจะเป็น Charles University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศเช็ก ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1348 เก่าแก่กว่ามหาวิทยาลัยลุนด์เสียอีก (มหาวิทยาลัยลุนด์ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1666) ทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปตอนกลาง (Central Europe) รวมถึงเก่าแก่ที่สุดด้านตะวันออกของฝรั่งเศส และตอนเหนือของอิตาลี (มหาวิทยาลัยที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดของโลกคือ University of Bologna ที่อิตาลีครับ) และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดที่เปิดทำการเรียนการสอนเป็นเวลาต่อเนื่องตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยหลายแห่งในยุโรปหยุดทำการเรียนการสอนในบางช่วงเนื่องจากปัญหาทางการเมือง) เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศในยุโรป ประเทศเช็กเองก็มีสำนักวิชาที่เป็นแหล่งรวบรวมนักวิทยาศาสตร์เก่งๆ หลายคนที่เรียกว่าสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเช็ก (Czech Academy of Sciences, CAS) ที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่นานในปี ค.ศ. 1992 โดยคณะกรรมการแห่งชาติเช็ก (Czech National Council) สถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันิวิจัยของรัฐที่ไม่ขึ้นกับมหาวิทยาลัย คล้ายๆ กับสถาบันวิจัยแห่งชาติของบ้านเรา ซึ่งานวิจัยครอบคลุมทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ 

ปัจจุบันสถาบันแห่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยได้แก่ 
1. กลุ่มงานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพื้นดินและส่วนประกอบของโลก (Earth Science)
2. กลุ่มวิจัยด้านเคมีและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  
3. กลุ่มวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

จำนวนเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในสถาบันปัจจุบันมีจำนวนมากถึง 6,400 คน และในจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ในระดับปริญญาเอก

ในการประชุมครั้งนี้ผมได้มีโอกาสคุยกับคุณจาน่า (อาจารย์จากมหาวิทยาชาร์ลซึ่งเป็นประธานจัดการประชุมว่าเมื่อสี่ปีก่อนเคยสมัครทุนของรัฐบาลเช็กผ่านทางสถานฑูตเช็กประจำประเทศไทยเพราะอยากมาเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาชาร์ลแต่ครั้งนั้นสถานฑูตเช็กตอบอีเมลล์กลับมาบอกว่ารัฐบาลเช็กได้ยกเลิกการให้ทุนนักเรียนไทยเพราะเค้าบอกว่าประเทศไทยไม่เข้าข่ายประเทศยากจน (คือเค้าจัดรายได้ประเทศไทยไว้ว่ามีรายได้ต่อหัวเกิน higher middle income countries) คุณจาน่าอธิบายว่าประเทศเช็กไม่ได้เป็นประเทศร่ำรวยและมหาวิทยาลัยมีงบจำกัดในการช่วยเหลือนักเรียนต่างชาติ ในปีหนึ่งจึงมีนักเรียนต่างชาติมาเรียนไม่มากนัก ส่วนใหญ่มาเรียนด้วยเงินทุนส่วนตัวหรือทุนภายนอก ตบท้ายแกพูดขำๆ ว่าคุณน่ะโชคดีแล้วที่ได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยลุนด์ แต่โชคร้ายของเราที่ไม่ได้คุณเป็นนักเรียนปริญญาเอก 

อาจารย์จาน่า อัลเบรคโตว่า (Jana Albrechtovaซึ่งเป็นประธานจัดการประชุมกล่าวเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ (Photo credit to Miroslav Bartak) 
นำเสนอผลงานวิจัยให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่สนใจ ในภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอกจากโปแลนด์ (เสื้อสีชมพู) นักศึกษาปริญญาเอกจากเยอรมัน (ผู้ชายเสื้อดำ) และนักศึกษาปริญญาเอกจากออสเตรีย (ผู้หญิงเสื้อสีดำถัดจากนักศึกษาชาวโปแลนด์) 
บรรยากาศของงาน Dinner ซึ่งจัดขึ้นที่ Prague City Hall 
ภาพถ่ายหมู่หลังจบการประชุม

No comments:

Post a Comment