Saturday, August 20, 2016

เที่ยวหินธรรมาสน์นักเทศน์ (Pulpit Rock) ที่เมืองสตาแวนเงอร์ ประเทศนอร์เวย์ (18 Aug 2016)

Pulpit Rock

หินธรรมาสน์นักเทศน์ (Preacher’s Pulpit/ Pulpit Rockภาษานอร์วีเจียนเรียกว่า Preikestolen หรือ Prekestolen เป็นจุดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในเทศบาลเมืองฟอร์แซนด์ (the municipality of Forsandในเขตมณฑลโรกาแลนด์ (Rogaland county) ของประเทศนอร์เวย์ Pulpit Rock นั้นเป็นหน้าผาหินที่สูงชันมีความสูงถึง 604 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่ทางตอนบนของฟยอร์ดที่ชื่อว่า Lysefjorden บนหน้าผานี้มีพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสแบนราบขนาดพื้นที่ประมาณ 25 คูณ 25 เมตร จุดนี้เป็นจุดที่มีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศนอร์เวย์ โดยในปี ค.ศ. 2012 มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากถึง 150,000-200,000 คน เวลาจะไปเที่ยวนักท่องเที่ยวที่พักอยู่ที่เมืองสตาแวนเงอร์ต้องเดินทางโดยเรือเฟอรี่ไปจอดที่ท่าเรือที่เมือง Tau เสียก่อนแล้วต่อรถบัสโดยสารขึ้นไปอีกใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง และเดินขึ้นเขาต่อไปอีก 4 กิโลเมตร ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เบ็ดเสร็จแล้วรวมเดินทางไปและกลับก็ใช้เวลาเป็นวันเลยทีเดียว
หน้าผา Pulpit rock มีความสูง 604 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ฟยอร์ด Lysefjorden และ Pulpit rock

ฟยอร์ดคืออะไร

ฟยอร์ด (fjord หรือ fiord) คืออ่าวแคบและยาวที่อยู่ระหว่างหน้าผาสูงชันและยื่นเข้าไปในแผ่นดินซึ่งเกิดจากการกัดกร่อนของธารน้ำแข็ง (glacial erosion) ในอดีต

ฟยอร์ดพบได้ที่ไหน

จริงๆ แล้วฟยอร์ดไม่ได้พบเฉพาะในนอร์เวย์เท่านั้นแต่ยังพบในอีกหลายๆ ประเทศที่เคยพบธารน้ำแข็งในอดีต เช่น ชายฝั่งอลาสก้าของอเมริกา ชายฝั่งของรัฐบริติชโคลัมเบียของแคนาดา ชายฝั่งของประเทศชิลี ชายฝั่งของเกาะกรีนแลนด์ ชายฝั่งของประเทศไอซ์แลนด์ หมู่เกาะเคอกึเลน (The Kerguelen islandsในมหาสมุทรอินเดียทางตอนใต้ ชายฝั่งทะเลของประเทศนิวซีแลนด์ เกาะนิวฟาวแลนด์ (Newfoundlandพื้นที่รัฐนูนาวุท (Nunavutและคาบสมุทรลาบราดอร์ (The Labrador Peninsulaของประเทศแคนาดา ชายฝั่งสก๊อตแลนด์ (Scotlandของสหราชอาณาจักรอังกฤษ และชายฝั่งของรัฐวอชิงตัน (Washington state) ของอเมริกา เป็นต้น ว่ากันว่าชายฝั่งของประเทศนอร์เวย์มีความยาวถึงเกือบสามพันกิโลเมตรแต่ถ้าไม่รวมฟยอร์ดจะมีความยาวเพียงแค่ 2,500 กิโลเมตรเท่านั้นเอง

ฟยอร์ดเกิดขึ้นได้อย่างไร

ฟยอร์ดเกิดขึ้นเมื่อธารน้ำแข็ง (Glacier) ตัดหุบเขาเป็นรูปตัวยูโดยการแยกตัวของน้ำแข็งและเคลื่อนที่ไปตามหุบเขา การเคลื่อนที่ดังกล่าวก่อให้เกิดรอยขีดข่วนของพื้นที่หินแข็ง (bedrockชั้นล่าง และเมื่อธารน้ำแข็งละลายตะกอนหินที่ถูกกัดกร่อนจะเคลื่อนที่ตามกระแสน้ำและเกิดเป็นหินโสโครก (terminal moraine) ทับถมอยู่บริเวณปากอ่าว ผลก็คือจะทำให้พื้นที่หินแข็งบริเวณที่ถูกกัดกร่อนมีลักษณะเป็นหลุมลึกกว่าบริเวณใกล้เคียง (รูปภาพ) ในบางครั้งหลุ่มลึกนี้อาจจะมีความลึกจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1 กิโลเมตรเลยทีเดียว เช่นฟยอร์ดที่ชื่อว่า Sognefjord ที่ประเทศนอร์เวย์มีความลึกจากระดับน้ำทะเลมากถึง 1,300 เมตร

No comments:

Post a Comment