Monday, August 22, 2016

อิสตันบูล (Istanbul): เมืองสองทวีปของประเทศตุรกี (8-10 July 2013)

เมืองอิสตันบูล (Istanbulชื่อเดิมคือเมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinopleและเมืองไบแซนเทียม (Byzantiumเป็นเมืองที่ มีประชากรมากที่สุดในประเทศตุรกีและเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและศูนย์ประวัติศาสตร์ของประเทศ เมืองอิสตันบูลเป็นเมืองสองทวีปเพราะตั้งอยู่ทั้งในทวีปยุโรปและเอเชียโดยมีช่องแคบบอสฟอรัส (Bosphorus straitแยกเมืองที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปและเอเชียออกจากกัน ช่องแคบนี้เป็นช่องแคบที่เชื่อมทะเลมาร์มารา (The Sea of Marmaraและทะเลสีดำ (The Black Seaเข้าด้วยกัน บริเวรที่เป็นศูนย์กลางการค้าและประวัติศาสตร์ของเมืองตั้งอยู่ในฝั่งยุโรปและประมาณหนึ่งในสามของประชากรของเมืองอาศัยอยู่ในฝั่งเอเชีย อิสตันบูลถือว่าเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลก (The world’s 7th largest city properและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป 

ประวัติย่อของเมืองอิสตันบูล

อิสตันบูลเดิมทีก่อตั้งขึ้นภายใต้ชื่อไบแซนเทียม (Byzantiumบนคาบสมุทรสาราเบอนู (The Sarayburnu Promonotoryในราว 660 ก่อนปีคริสตศักราช และเมืองแห่งนี้ได้พัฒนาและเจริญขึ้นอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญ มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของตุรกี หลังจากนั้นได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinopleในปี ค.ศ. 330 ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของหลายจักรวรรดิเกือบ 16 ศตวรรษ เริ่มตั้งแต่จักรวรรดิโรมัน (The Roman Empireปี ค.ศ. 330-1204) จักรวรรดิไบแซนไทน์ (The Byzantine Empireปี ค.ศ. 1261-1453) จักรวรรดิลาติน (The Latin Empireปี ค.ศ. 1204-1261) และจักรวรรดิออตโตมัน (The Ottoman Empireปี ค.ศ. 1453-1922) นอกจากนี้อิสตันบูลยังเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางความรุ่งเรืองของศาสนาคริสต์ในช่วงจักรวรรดิโรมันและไบเซนไทน์ก่อนที่จักรวรรดิออตโตมาจะเรืองอำนาจในปี ค.ศ. 1453 และถูก เปลี่ยนให้กลายเป็นฐานที่มั่นของศาสนาอิสลามและเป็นที่พำนักของหัวหน้าศาสนาอิสลาม (The Seat of the Ottoman Caliphateแทนในเวลาต่อมา

ตำแหน่งที่ตั้ง

เมืองอิสตันบูลตั้งอยู่ในตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ของเครือข่ายทางรถไฟจากตะวันออกกลาง (The Middle Eastไปยังทวีปยุโรปของเส้นทางสายไหม (TheSilk Roadในอดีต และยังเป็นเส้นทางทะเลเพียงเส้นเดียวที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลดำ (The Black Seaและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (The Mediterraneanจึงทำให้เมืองมีประชากรมาอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น (แม้ว่าจำนวนประชากรจะลดลงตั้งแต่มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีขึ้นในปี ค.ศ. 1923) ประชากรของเมืองมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950s เมื่อมีผู้อพยพจำนวนมากจากที่ราบสูงอนันโตเลีย (Anatoliaเข้ามาอาศัยอยู่ที่นี่ ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาเมืองแห่งนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของศิลปกรรม ดนตรี และวัฒนธรรมของประเทศ ก่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการโครงข่ายการคมนาคมเป็นอย่างมาก

อิสตันบูลเคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองหลวงด้านวัฒนธรรมของยุโรป

ประมาณกันว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เข้าไปท่องเที่ยวในอิสตันบูลมากถึง  12,560,000 คน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ห้าปีหลังจากที่เมืองได้ถูกคัดเลือกให้เป็น “เมืองหลวงด้านวัฒนธรรมของยุโรป” หรือ “European Capital of Culture” ส่งผลให้อิสตันบูลกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันดับห้าในโลก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางประวัติศาสตร์ของเมือง (Historic center) และบางส่วนได้ถูกขึ้นทะเบียนป็นมรดกโลก (World Heritage Siteโดยองค์การยูเนสโก (UNESCOศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมและความบันเทิงสามารถพบได้ทั่วไปในบริเวณท่าเรือของเมืองที่เรียกว่า โกลเด้นฮอร์น (The Golden Hornในย่าน Beyoğlu

เศรษฐกิจของอิสตันบูล

เมืองอิสตันบูลถือได้ว่าเป็นเมืองหนึ่งที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่จำนวนมากของตุรกี คิดเป็นหนึ่งในสี่ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (Gross Domestic Product) อิสตันบูลเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพสำหรับ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน (The Summer Olympicsจำนวนถึงห้าครั้งในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา (แต่ยังไม่เคยประสบความสำเร็จ โดยในปีนี้ ปี ค.ศ. 2016 ประเทศที่เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนคือประเทศบราซิล)

ที่มาIstanbul


พระราชวังท๊อปกะปี (The Topkapi Palace) คือพระราชวังที่ใหญ่แห่งหนึ่งในเมืองอิสตันบูล เป็นพระราชวังที่เป็นที่พำนักขององค์สุลต่านแห่งจักรวรรดิ์ออตโตมันหลายพระองค์เป็นเวลาเกือบ 400 ปี จากทั้งหมด 624 ปีของจักรวรรดิ์ออตโตมันคือตั้งแต่ปี ค.ศ. 1465-1856 พระราชวังแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก (World Heritage Site) โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985
ถนนอิสติกลาล (Istiklal Avenue/ Istiklal Street) หรือถนนแห่งอิสรภาพ (Independence Avenue) คือถนนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองอิสตันบูล มีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมเกือบ 3 ล้านคนในแต่ละวัน (ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์) ตั้งอยู่ในพื้นที่ประวัติศาสตร์ย่าน Beyoglu มีความยาว 1.4 กิโลเมตร สองข้างทางเป็นที่ตั้งของร้านค้า ร้านหนังสือ ร้านเครื่องดนตรี ห้องศิลป์ โรงหนัง โรงละคร ห้องสมุด ผับ ไนท์คลับ และร้านอาหารต่างๆ มากมาย  
จัตุรัสทักซิม (Taksim Square) ซึ่งเป็นที่ตั้งของอนุเสาวรีย์ของการก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกี เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1928
เหล่าบรรดานักศึกษาที่มาชุมนุมทางการเมืองที่สวนสาธารณะทักซิมเกซี (Taksim Gezi Park) ที่อยู่ถัดจากจัตุรัสทักซิม (Taksim Square)
ช่วงที่ไปเที่ยวตุรกีเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 เป็นช่วงที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองมีฝูงชนออกมาประท้วงรัฐบาลพอดี ตามท้องถนนมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินตรวจตราดูความสงบไปทั่วทั้งอิสตันบูล จำได้ว่าตอนที่ขึ้นไปบนหอคอยกาลาต้า (Galata Tower) สังเกตุเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้แก๊สน้ำตาในการสลายฝูงชนหลายจุดบนถนนอิสติกลาล
ภาพถ่ายบนสะพานกาลาต้า (Galata Bridge) ที่จะไปยังหอคอยกาลาต้า (Galata Tower) ซึ่งเป็นหอคอยที่สร้างด้วยหินในยุคกลาง มีความสูง 67 เมตร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของภัตตาคารและจุดชมวิว (จะขึ้นไปก็ต้องจ่ายตังค์)
ทัศนียภาพของ The Golden Horn ที่อยู่ระหว่าง Karaköy (ชื่อใหม่ของย่านเมืองเก่ากาลาต้า) และคาบสมุทร Sarayburnu ภายในพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของอิสตันบูล ภาพถ่ายจากบนหอคอยกาลาต้า (Galata Tower)
บรรยากาศสองฝั่งของช่องแคบบอสฟอรัส (The Bosphorus Strait) ตั้งเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ มหาวิทยาลัย และร้านอาหารมากมาย
การแสดงของคณะนักดนตรีเดินสวนสนามหรือ Ottoman Military Band ซึ่งเชื่อว่าเป็นหนึ่งในการแสดงดนตรีสวนสนามของเหล่าทหารที่เก่าแก่ที่สุดในโลกหรือที่ในภาษาตุรกีเรียกว่า Mehter marsi

No comments:

Post a Comment